จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ลดภาวะโลกร้อน...กันเถิด

ลดภาวะโลกร้อน...ด้วยใจ


โลกจะร้อน เพียงใด ใจเย็นได้


ถ้าหากใจ ไร้กิเลส เหตุแผดเผา


ความชุ่มชื่น เย็นใส ในใจเรา


จะบรรเทา โลกร้อน ให้ผ่อนคลาย

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การประชุมคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ตามโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ

วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง จัดประชุมคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ตามโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ เพื่อพิจารณาจัดซื้อหนังสือเรียน ในภาคเรียนที่ 1/2553 ในวันที่ 21 เมษายน  2553 ณ ห้องเกียรติยศ วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง

ประชุมคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ตามโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง จัดประชุมคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ตามโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพ่อร่วมกันพิจารณารายการหนังสือเรียนซึ่งทางฝ่ายวิชาการได้ดำเนินการคัดเลือกไว้ โดยจะได้เร่งดำเนินการจัดซื้อหนังสือเรียนให้แก่นักเรียนเพื่อให้ทันใช้เรียนต่อไป

“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

              ด้วยจังหวัดลำปางกำหนดจัดงานพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ประจำปี 2553 ขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2553 ณ ห้องฝ้ายคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

              ข้าพเจ้านางอรัญญา กิมภิระ รองผู้อำนวยการ ได้นำคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง เข้าร่วมพิธีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมดังนี้

                                           1. นางอรัญญา กิมภิระ

                                           2. นายณรงค์ กิมภิระ

                                           3. นางจุรีพร ศิริโพธิ์

                                           4. นางยุวดี วาฤทธิ์

                                           5. นายยุทธนา ชัยวงค์

                                           6. นางถาวรีย์ มานะ

                                           7. นายสมบัติ ฉลอม

                                           8. นายสนอง วงค์หาญ

                                           9. นางพัชรี ชัยวงค์

                                         10. นางสาววรรณภา อุ๊ดใจ

                                         11. นางปวีณา ต๊ะคำวรรณ์

                โดยมีนายสวิง ใหญ่วงค์ เป็นพนักงานขับรถตู้รับส่งผู้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

นโยบายการอาชีวศึกษาและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รอบที่ 2


ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์



นโยบายการอาชีวศึกษา

การอาชีวศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบุคลากรที่ใช้ทักษะ (skilled workforce) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน (ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและภาคบริการ)

การอาชีวศึกษาต้องเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาทรัพยากรระดับฝีมือแรงงานสำหรับอนาคตของชาติ

แนวนโยบายเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษา

เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางข้างต้น แนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษาต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพและค่านิยมในการอาชีวศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรองรับกับแนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติสำหรับ 5 – 10 ปี ข้างหน้า

ด้านคุณภาพ

 ต้องผลิตบุคลากรให้ทันและสอดคล้องกับภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาภาคอุตสาหกรรมหลัก ต้องมีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ

 ต้องเร่งรัดให้มีสถาบันรับรองมาตรฐานการอาชีวศึกษาวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติสำหรับวิชาชีพหลักทั้งหลาย เพื่อเชื่อมโลกการศึกษาและโลกการทำงานให้สอดคล้องกันโดยเป็นความร่วมมือกับภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าภาคการเกษตรและภาคบริการ

 เพื่อสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะ (skilled workforce) ให้ศักยภาพสอดคล้องกับ ความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและส่งเสริมให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมของโลกาภิวัตน์และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรที่มีความสามารถให้มีโอกาสพัฒนาตนเอง จะต้องจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อสร้าง นักปฏิบัติการชั้นสูง เทียบเท่าปริญญา

 สร้างความเข้มแข็งในการผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาให้สามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและภาคการผลิตและภาคบริการ จึงต้องจัดการให้ระบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคการผลิต อย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและเป็นที่เชื่อถือยอมรับของทั้งสองฝ่าย

 พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายข้างต้น โดยการลงทุนมากขึ้นกับบุคลากรครูผู้สอนให้ปราศจากช่องว่างของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับการออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะ มีทักษะความเข้าใจทั้งสังคมไทยและสังคมโลกพร้อมทั้งมีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ด้านค่านิยม

 ต้องทำให้การอาชีวศึกษาและนักศึกษาอาชีวศึกษาเป็นความภาคภูมิใจของสังคมและชุมชน โดยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและพัฒนาชาติ

 ต้องส่งเสริมโครงการอาชีวเพื่อชุมชนทุกรูปแบบ

 ต้องส่งเสริมให้โรงเรียนระดับ สพฐ. โดยเฉพาะภาคการแนะแนวเข้าใจคุณค่าและความสำคัญของการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่จะมีต่ออนาคตของนักเรียน ครอบครัวและชุมชน

 ร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเชื่อมั่นในคุณภาพของการศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีรายได้ที่เหมาะสมและเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการศึกษาระดับอาชีวะ เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

 ส่งเสริมให้การอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการกินดีอยู่ดีของประชาชนคนไทยและประชาชนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน



แนวทางการดำเนินการสำหรับการอาชีวศึกษา

1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาต้องได้งานทำทุกคน

 จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. ปวส. มีข้อมูล การว่าจ้างงานและข้อมูลอัตราการว่างงานที่จะรองรับ

 จัดตลาดนัดแรงงานอาชีวะในทุกภูมิภาค

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะฯ ออกไปประกอบอาชีพอิสระของตนเองเป็น ผู้ประกอบการใหม่ทั้งภาคการผลิต การบริการและการเกษตร (เช่น ต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าถึงแหล่งทุนและธุรกิจ SME)

 ขยายความร่วมมือ MOU กับภาคเอกชนและการเรียนทวิภาคีเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา มีงานรองรับ





2. การประกันคุณภาพ

 เร่งรัดจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพอาชีวศึกษาเพื่อวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ภาคเกษตรและบริการเพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานรายได้ของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา

 ส่งเสริมมาตรฐาน V Net

 การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาชั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทียบเท่าระดับปริญญาตรี

 ร่วมมือกับภาคเอกชนกับวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการอาชีวศึกษาและให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถตองสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง

3. การปฏิรูปการอาชีวศึกษา

 จัดสัมมนาปฏิรูปอาชีวศึกษา ระดมความเห็นสาธารณะเพื่อทำให้การอาชีวศึกษาเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรระดับฝีมือแรงงานในการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้าและส่งเสริมค่านิยมในการเรียนระดับอาชีวศึกษา

 พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จอาชีวะมีความรู้และทักษะในการทำงาน การประกอบกิจการและทักษะการสื่อสาร ทั้งในสังคมไทยและระดับสากล (มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยและมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอื่นตาม ความเหมาะสมกับอาชีพ)



นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

ให้ยึดถือตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น

- ค่าหนังสือเรียน กำหนดให้นักเรียนไปใช้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธียืมเรียน การจัดซื้อหนังสือต้องเป็นหนังสือตามมาตรฐานที่ สอศ. กำหนด ส่วนหนังสือประกอบการเรียนสามารถจัดซื้อได้ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย โดยผู้บริหารจะต้องมีการกำกับ ติดตาม

- ค่าชุดนักเรียน ให้จ่ายเป็นเงินสดโดยทางสถานศึกษาอำนวยความสะดวกการซื้อขายเพื่อให้ได้ใบเสร็จรับเงินในคราวเดียวกัน

- ค่าอุปกรณ์การเรียนให้กำหนดรายการที่จำเป็นตามความเหมาะสมอย่าให้เกินวงเงินมากนัก

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสื่อสาร ชี้แจง ความชัดเจนให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ให้แก่ครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับทราบอย่างทั่วถึง









การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้ผ่านเรื่องให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว กำลังตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรมหาชน



การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

จะเร่งรัดจัดการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา



การจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี

ให้พิจารณาการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคีโดยพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ

ในการลงทุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพิ่มอัตราการจัดการศึกษาจากร้อยละ 10 -15 เป็นร้อยละ 30



การเลื่อนวิทยฐานะโดยเฉพาะของผู้บริหารได้ดำเนินการเร่งพิจารณาให้แล้วและจะจัดตั้งศูนย์การอ่านผลงานวิชาการโดยมอบหมายให้ผู้แทนภาคดำเนินการร่วมกับกรรมการจากส่วนกลาง



การดำเนินการบรรจุพนักงานราชการให้ดำเนินการประกาศรับสมัครและสอบตามกำหนด



อัตราครูผู้ช่วย สอศ. มี 350 อัตรา จะเป็นของโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ 100 อัตรา (5 แห่งๆ ละ 20 อัตรา) ที่เหลืออีก 250 อัตราจะมีการบรรจุหลังจากดำเนินการย้ายเสร็จแล้ว



----------------------------------------------------------------
การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
นโยบายการอาชีวศึกษาและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รอบที่ 2


ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์



นโยบายการอาชีวศึกษา

การอาชีวศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบุคลากรที่ใช้ทักษะ (skilled workforce) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน (ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและภาคบริการ)

การอาชีวศึกษาต้องเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาทรัพยากรระดับฝีมือแรงงานสำหรับอนาคตของชาติ

แนวนโยบายเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษา

เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางข้างต้น แนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษาต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพและค่านิยมในการอาชีวศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรองรับกับแนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติสำหรับ 5 – 10 ปี ข้างหน้า

ด้านคุณภาพ

 ต้องผลิตบุคลากรให้ทันและสอดคล้องกับภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาภาคอุตสาหกรรมหลัก ต้องมีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ

 ต้องเร่งรัดให้มีสถาบันรับรองมาตรฐานการอาชีวศึกษาวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติสำหรับวิชาชีพหลักทั้งหลาย เพื่อเชื่อมโลกการศึกษาและโลกการทำงานให้สอดคล้องกันโดยเป็นความร่วมมือกับภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าภาคการเกษตรและภาคบริการ

 เพื่อสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะ (skilled workforce) ให้ศักยภาพสอดคล้องกับ ความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและส่งเสริมให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมของโลกาภิวัตน์และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรที่มีความสามารถให้มีโอกาสพัฒนาตนเอง จะต้องจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อสร้าง นักปฏิบัติการชั้นสูง เทียบเท่าปริญญา

 สร้างความเข้มแข็งในการผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาให้สามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและภาคการผลิตและภาคบริการ จึงต้องจัดการให้ระบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคการผลิต อย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและเป็นที่เชื่อถือยอมรับของทั้งสองฝ่าย

 พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายข้างต้น โดยการลงทุนมากขึ้นกับบุคลากรครูผู้สอนให้ปราศจากช่องว่างของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับการออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะ มีทักษะความเข้าใจทั้งสังคมไทยและสังคมโลกพร้อมทั้งมีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ด้านค่านิยม

 ต้องทำให้การอาชีวศึกษาและนักศึกษาอาชีวศึกษาเป็นความภาคภูมิใจของสังคมและชุมชน โดยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและพัฒนาชาติ

 ต้องส่งเสริมโครงการอาชีวเพื่อชุมชนทุกรูปแบบ

 ต้องส่งเสริมให้โรงเรียนระดับ สพฐ. โดยเฉพาะภาคการแนะแนวเข้าใจคุณค่าและความสำคัญของการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่จะมีต่ออนาคตของนักเรียน ครอบครัวและชุมชน

 ร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเชื่อมั่นในคุณภาพของการศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีรายได้ที่เหมาะสมและเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการศึกษาระดับอาชีวะ เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

 ส่งเสริมให้การอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการกินดีอยู่ดีของประชาชนคนไทยและประชาชนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน



แนวทางการดำเนินการสำหรับการอาชีวศึกษา

1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาต้องได้งานทำทุกคน

 จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. ปวส. มีข้อมูล การว่าจ้างงานและข้อมูลอัตราการว่างงานที่จะรองรับ

 จัดตลาดนัดแรงงานอาชีวะในทุกภูมิภาค

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะฯ ออกไปประกอบอาชีพอิสระของตนเองเป็น ผู้ประกอบการใหม่ทั้งภาคการผลิต การบริการและการเกษตร (เช่น ต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าถึงแหล่งทุนและธุรกิจ SME)

 ขยายความร่วมมือ MOU กับภาคเอกชนและการเรียนทวิภาคีเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา มีงานรองรับ





2. การประกันคุณภาพ

 เร่งรัดจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพอาชีวศึกษาเพื่อวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ภาคเกษตรและบริการเพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานรายได้ของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา

 ส่งเสริมมาตรฐาน V Net

 การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาชั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทียบเท่าระดับปริญญาตรี

 ร่วมมือกับภาคเอกชนกับวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการอาชีวศึกษาและให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถตองสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง

3. การปฏิรูปการอาชีวศึกษา

 จัดสัมมนาปฏิรูปอาชีวศึกษา ระดมความเห็นสาธารณะเพื่อทำให้การอาชีวศึกษาเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรระดับฝีมือแรงงานในการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้าและส่งเสริมค่านิยมในการเรียนระดับอาชีวศึกษา

 พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จอาชีวะมีความรู้และทักษะในการทำงาน การประกอบกิจการและทักษะการสื่อสาร ทั้งในสังคมไทยและระดับสากล (มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยและมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอื่นตาม ความเหมาะสมกับอาชีพ)



นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

ให้ยึดถือตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น

- ค่าหนังสือเรียน กำหนดให้นักเรียนไปใช้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธียืมเรียน การจัดซื้อหนังสือต้องเป็นหนังสือตามมาตรฐานที่ สอศ. กำหนด ส่วนหนังสือประกอบการเรียนสามารถจัดซื้อได้ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย โดยผู้บริหารจะต้องมีการกำกับ ติดตาม

- ค่าชุดนักเรียน ให้จ่ายเป็นเงินสดโดยทางสถานศึกษาอำนวยความสะดวกการซื้อขายเพื่อให้ได้ใบเสร็จรับเงินในคราวเดียวกัน

- ค่าอุปกรณ์การเรียนให้กำหนดรายการที่จำเป็นตามความเหมาะสมอย่าให้เกินวงเงินมากนัก

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสื่อสาร ชี้แจง ความชัดเจนให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ให้แก่ครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับทราบอย่างทั่วถึง









การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้ผ่านเรื่องให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว กำลังตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรมหาชน



การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

จะเร่งรัดจัดการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา



การจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี

ให้พิจารณาการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคีโดยพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ

ในการลงทุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพิ่มอัตราการจัดการศึกษาจากร้อยละ 10 -15 เป็นร้อยละ 30



การเลื่อนวิทยฐานะโดยเฉพาะของผู้บริหารได้ดำเนินการเร่งพิจารณาให้แล้วและจะจัดตั้งศูนย์การอ่านผลงานวิชาการโดยมอบหมายให้ผู้แทนภาคดำเนินการร่วมกับกรรมการจากส่วนกลาง



การดำเนินการบรรจุพนักงานราชการให้ดำเนินการประกาศรับสมัครและสอบตามกำหนด



อัตราครูผู้ช่วย สอศ. มี 350 อัตรา จะเป็นของโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ 100 อัตรา (5 แห่งๆ ละ 20 อัตรา) ที่เหลืออีก 250 อัตราจะมีการบรรจุหลังจากดำเนินการย้ายเสร็จแล้ว



----------------------------------------------------------------

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5

การประชุมเพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมในการประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5


ในวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 10.00 น. ณ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง กรุงเทพฯ

.....................................



กิจกรรมแข่งขันทักษะฝีมือนานาชาติ ประกอบด้วย

1. วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ

2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย

4. วิทยาลัยเกษตรเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

5. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ



ประเด็นการประชุม

จัดการแข่งขันทักษะฝีมือนานาชาติ โดยคำนึงถึงความเป็นสากล ที่แต่ละประเทศสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างทัดเทียมกัน

1. กำหนดรายวิชาที่เป็นสากล

2. กำหนดเกณฑ์ กติกา การตัดสินที่เป็นมาตรฐานสากล ต่างชาติยอมรับ

3. กำหนดวิธีการประสานงานกับนานาประเทศอย่างไรที่จะให้เยาวชนจากประเทศเหล่านั้นสามารถเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

4. กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้นานาชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้ จะมีวิธีการจัดกิจกรรมอย่างไร เพื่อจะให้กิจกรรมนี้มีลักษณะที่เป็นสากล

- จัดทำ / จัดหาข้อสอบ เกณฑ์ กติกา ที่เป็นสากล เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ

- ดำเนินการจัดการแข่งขัน / สาธิต การแข่งขันทักษะฝีมือตามเกณฑ์

5. จัดทีมงานที่สามารถสื่อสาร ติดต่อประสานงาน ทั้งการเขียน / พูด ภาษาอังกฤษได้ดี

6. เตรียมจัดประชุมคณะทำงาน โดยมีการเตรียมประเด็นการดำเนินการไว้ล่วงหน้า

- หัวหน้าทีมออกหนังสือเชิญประชุม

- จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนการใช้กำลังคน และแผนการใช้งบประมาณ

7. นัดประชุมฝ่ายดำเนินการภายหลังจากมีการทำคำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบการดำเนินการแข่งขันทักษะฝีมือแต่ละรายวิชา



นางอรัญญา กิมภิระ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง 0897592496 ผู้บันทึก