จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

นโยบายการอาชีวศึกษาและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รอบที่ 2


ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์



นโยบายการอาชีวศึกษา

การอาชีวศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบุคลากรที่ใช้ทักษะ (skilled workforce) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน (ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและภาคบริการ)

การอาชีวศึกษาต้องเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาทรัพยากรระดับฝีมือแรงงานสำหรับอนาคตของชาติ

แนวนโยบายเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษา

เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางข้างต้น แนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษาต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพและค่านิยมในการอาชีวศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรองรับกับแนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติสำหรับ 5 – 10 ปี ข้างหน้า

ด้านคุณภาพ

 ต้องผลิตบุคลากรให้ทันและสอดคล้องกับภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาภาคอุตสาหกรรมหลัก ต้องมีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ

 ต้องเร่งรัดให้มีสถาบันรับรองมาตรฐานการอาชีวศึกษาวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติสำหรับวิชาชีพหลักทั้งหลาย เพื่อเชื่อมโลกการศึกษาและโลกการทำงานให้สอดคล้องกันโดยเป็นความร่วมมือกับภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าภาคการเกษตรและภาคบริการ

 เพื่อสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะ (skilled workforce) ให้ศักยภาพสอดคล้องกับ ความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและส่งเสริมให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมของโลกาภิวัตน์และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรที่มีความสามารถให้มีโอกาสพัฒนาตนเอง จะต้องจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อสร้าง นักปฏิบัติการชั้นสูง เทียบเท่าปริญญา

 สร้างความเข้มแข็งในการผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาให้สามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและภาคการผลิตและภาคบริการ จึงต้องจัดการให้ระบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคการผลิต อย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและเป็นที่เชื่อถือยอมรับของทั้งสองฝ่าย

 พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายข้างต้น โดยการลงทุนมากขึ้นกับบุคลากรครูผู้สอนให้ปราศจากช่องว่างของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับการออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะ มีทักษะความเข้าใจทั้งสังคมไทยและสังคมโลกพร้อมทั้งมีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ด้านค่านิยม

 ต้องทำให้การอาชีวศึกษาและนักศึกษาอาชีวศึกษาเป็นความภาคภูมิใจของสังคมและชุมชน โดยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและพัฒนาชาติ

 ต้องส่งเสริมโครงการอาชีวเพื่อชุมชนทุกรูปแบบ

 ต้องส่งเสริมให้โรงเรียนระดับ สพฐ. โดยเฉพาะภาคการแนะแนวเข้าใจคุณค่าและความสำคัญของการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่จะมีต่ออนาคตของนักเรียน ครอบครัวและชุมชน

 ร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเชื่อมั่นในคุณภาพของการศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีรายได้ที่เหมาะสมและเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการศึกษาระดับอาชีวะ เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

 ส่งเสริมให้การอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการกินดีอยู่ดีของประชาชนคนไทยและประชาชนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน



แนวทางการดำเนินการสำหรับการอาชีวศึกษา

1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาต้องได้งานทำทุกคน

 จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. ปวส. มีข้อมูล การว่าจ้างงานและข้อมูลอัตราการว่างงานที่จะรองรับ

 จัดตลาดนัดแรงงานอาชีวะในทุกภูมิภาค

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะฯ ออกไปประกอบอาชีพอิสระของตนเองเป็น ผู้ประกอบการใหม่ทั้งภาคการผลิต การบริการและการเกษตร (เช่น ต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าถึงแหล่งทุนและธุรกิจ SME)

 ขยายความร่วมมือ MOU กับภาคเอกชนและการเรียนทวิภาคีเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา มีงานรองรับ





2. การประกันคุณภาพ

 เร่งรัดจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพอาชีวศึกษาเพื่อวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ภาคเกษตรและบริการเพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานรายได้ของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา

 ส่งเสริมมาตรฐาน V Net

 การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาชั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทียบเท่าระดับปริญญาตรี

 ร่วมมือกับภาคเอกชนกับวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการอาชีวศึกษาและให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถตองสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง

3. การปฏิรูปการอาชีวศึกษา

 จัดสัมมนาปฏิรูปอาชีวศึกษา ระดมความเห็นสาธารณะเพื่อทำให้การอาชีวศึกษาเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรระดับฝีมือแรงงานในการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้าและส่งเสริมค่านิยมในการเรียนระดับอาชีวศึกษา

 พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จอาชีวะมีความรู้และทักษะในการทำงาน การประกอบกิจการและทักษะการสื่อสาร ทั้งในสังคมไทยและระดับสากล (มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยและมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอื่นตาม ความเหมาะสมกับอาชีพ)



นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

ให้ยึดถือตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น

- ค่าหนังสือเรียน กำหนดให้นักเรียนไปใช้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธียืมเรียน การจัดซื้อหนังสือต้องเป็นหนังสือตามมาตรฐานที่ สอศ. กำหนด ส่วนหนังสือประกอบการเรียนสามารถจัดซื้อได้ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย โดยผู้บริหารจะต้องมีการกำกับ ติดตาม

- ค่าชุดนักเรียน ให้จ่ายเป็นเงินสดโดยทางสถานศึกษาอำนวยความสะดวกการซื้อขายเพื่อให้ได้ใบเสร็จรับเงินในคราวเดียวกัน

- ค่าอุปกรณ์การเรียนให้กำหนดรายการที่จำเป็นตามความเหมาะสมอย่าให้เกินวงเงินมากนัก

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสื่อสาร ชี้แจง ความชัดเจนให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ให้แก่ครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับทราบอย่างทั่วถึง









การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้ผ่านเรื่องให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว กำลังตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรมหาชน



การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

จะเร่งรัดจัดการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา



การจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี

ให้พิจารณาการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคีโดยพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ

ในการลงทุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพิ่มอัตราการจัดการศึกษาจากร้อยละ 10 -15 เป็นร้อยละ 30



การเลื่อนวิทยฐานะโดยเฉพาะของผู้บริหารได้ดำเนินการเร่งพิจารณาให้แล้วและจะจัดตั้งศูนย์การอ่านผลงานวิชาการโดยมอบหมายให้ผู้แทนภาคดำเนินการร่วมกับกรรมการจากส่วนกลาง



การดำเนินการบรรจุพนักงานราชการให้ดำเนินการประกาศรับสมัครและสอบตามกำหนด



อัตราครูผู้ช่วย สอศ. มี 350 อัตรา จะเป็นของโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ 100 อัตรา (5 แห่งๆ ละ 20 อัตรา) ที่เหลืออีก 250 อัตราจะมีการบรรจุหลังจากดำเนินการย้ายเสร็จแล้ว



----------------------------------------------------------------
การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
นโยบายการอาชีวศึกษาและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รอบที่ 2


ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์



นโยบายการอาชีวศึกษา

การอาชีวศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบุคลากรที่ใช้ทักษะ (skilled workforce) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน (ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและภาคบริการ)

การอาชีวศึกษาต้องเป็นกระดูกสันหลังของการพัฒนาทรัพยากรระดับฝีมือแรงงานสำหรับอนาคตของชาติ

แนวนโยบายเพื่อการพัฒนาการอาชีวศึกษา

เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางข้างต้น แนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวศึกษาต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพและค่านิยมในการอาชีวศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรองรับกับแนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติสำหรับ 5 – 10 ปี ข้างหน้า

ด้านคุณภาพ

 ต้องผลิตบุคลากรให้ทันและสอดคล้องกับภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาภาคอุตสาหกรรมหลัก ต้องมีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ

 ต้องเร่งรัดให้มีสถาบันรับรองมาตรฐานการอาชีวศึกษาวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติสำหรับวิชาชีพหลักทั้งหลาย เพื่อเชื่อมโลกการศึกษาและโลกการทำงานให้สอดคล้องกันโดยเป็นความร่วมมือกับภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าภาคการเกษตรและภาคบริการ

 เพื่อสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะ (skilled workforce) ให้ศักยภาพสอดคล้องกับ ความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและส่งเสริมให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านทักษะสามารถทำงานในสภาวะแวดล้อมของโลกาภิวัตน์และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรที่มีความสามารถให้มีโอกาสพัฒนาตนเอง จะต้องจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อสร้าง นักปฏิบัติการชั้นสูง เทียบเท่าปริญญา

 สร้างความเข้มแข็งในการผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาให้สามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและภาคการผลิตและภาคบริการ จึงต้องจัดการให้ระบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคการผลิต อย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและเป็นที่เชื่อถือยอมรับของทั้งสองฝ่าย

 พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายข้างต้น โดยการลงทุนมากขึ้นกับบุคลากรครูผู้สอนให้ปราศจากช่องว่างของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับการออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะ มีทักษะความเข้าใจทั้งสังคมไทยและสังคมโลกพร้อมทั้งมีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ด้านค่านิยม

 ต้องทำให้การอาชีวศึกษาและนักศึกษาอาชีวศึกษาเป็นความภาคภูมิใจของสังคมและชุมชน โดยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและพัฒนาชาติ

 ต้องส่งเสริมโครงการอาชีวเพื่อชุมชนทุกรูปแบบ

 ต้องส่งเสริมให้โรงเรียนระดับ สพฐ. โดยเฉพาะภาคการแนะแนวเข้าใจคุณค่าและความสำคัญของการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่จะมีต่ออนาคตของนักเรียน ครอบครัวและชุมชน

 ร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเชื่อมั่นในคุณภาพของการศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีรายได้ที่เหมาะสมและเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการศึกษาระดับอาชีวะ เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

 ส่งเสริมให้การอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการกินดีอยู่ดีของประชาชนคนไทยและประชาชนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน



แนวทางการดำเนินการสำหรับการอาชีวศึกษา

1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาต้องได้งานทำทุกคน

 จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. ปวส. มีข้อมูล การว่าจ้างงานและข้อมูลอัตราการว่างงานที่จะรองรับ

 จัดตลาดนัดแรงงานอาชีวะในทุกภูมิภาค

 ส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะฯ ออกไปประกอบอาชีพอิสระของตนเองเป็น ผู้ประกอบการใหม่ทั้งภาคการผลิต การบริการและการเกษตร (เช่น ต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าถึงแหล่งทุนและธุรกิจ SME)

 ขยายความร่วมมือ MOU กับภาคเอกชนและการเรียนทวิภาคีเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา มีงานรองรับ





2. การประกันคุณภาพ

 เร่งรัดจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพอาชีวศึกษาเพื่อวางกรอบคุณวุฒิมาตรฐานวิชาชีพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ภาคเกษตรและบริการเพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานรายได้ของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา

 ส่งเสริมมาตรฐาน V Net

 การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาชั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทียบเท่าระดับปริญญาตรี

 ร่วมมือกับภาคเอกชนกับวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการอาชีวศึกษาและให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถตองสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง

3. การปฏิรูปการอาชีวศึกษา

 จัดสัมมนาปฏิรูปอาชีวศึกษา ระดมความเห็นสาธารณะเพื่อทำให้การอาชีวศึกษาเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรระดับฝีมือแรงงานในการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้าและส่งเสริมค่านิยมในการเรียนระดับอาชีวศึกษา

 พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จอาชีวะมีความรู้และทักษะในการทำงาน การประกอบกิจการและทักษะการสื่อสาร ทั้งในสังคมไทยและระดับสากล (มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยและมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอื่นตาม ความเหมาะสมกับอาชีพ)



นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

ให้ยึดถือตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น

- ค่าหนังสือเรียน กำหนดให้นักเรียนไปใช้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธียืมเรียน การจัดซื้อหนังสือต้องเป็นหนังสือตามมาตรฐานที่ สอศ. กำหนด ส่วนหนังสือประกอบการเรียนสามารถจัดซื้อได้ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย โดยผู้บริหารจะต้องมีการกำกับ ติดตาม

- ค่าชุดนักเรียน ให้จ่ายเป็นเงินสดโดยทางสถานศึกษาอำนวยความสะดวกการซื้อขายเพื่อให้ได้ใบเสร็จรับเงินในคราวเดียวกัน

- ค่าอุปกรณ์การเรียนให้กำหนดรายการที่จำเป็นตามความเหมาะสมอย่าให้เกินวงเงินมากนัก

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสื่อสาร ชี้แจง ความชัดเจนให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ให้แก่ครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับทราบอย่างทั่วถึง









การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยทางรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้ผ่านเรื่องให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว กำลังตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรมหาชน



การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

จะเร่งรัดจัดการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา



การจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี

ให้พิจารณาการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคีโดยพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ

ในการลงทุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพิ่มอัตราการจัดการศึกษาจากร้อยละ 10 -15 เป็นร้อยละ 30



การเลื่อนวิทยฐานะโดยเฉพาะของผู้บริหารได้ดำเนินการเร่งพิจารณาให้แล้วและจะจัดตั้งศูนย์การอ่านผลงานวิชาการโดยมอบหมายให้ผู้แทนภาคดำเนินการร่วมกับกรรมการจากส่วนกลาง



การดำเนินการบรรจุพนักงานราชการให้ดำเนินการประกาศรับสมัครและสอบตามกำหนด



อัตราครูผู้ช่วย สอศ. มี 350 อัตรา จะเป็นของโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ 100 อัตรา (5 แห่งๆ ละ 20 อัตรา) ที่เหลืออีก 250 อัตราจะมีการบรรจุหลังจากดำเนินการย้ายเสร็จแล้ว



----------------------------------------------------------------

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา

การประชุมสัมมนารับนโยบายสำหรับการปฏิรูปการอาชีวศึกษา


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์บีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5

การประชุมเพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมในการประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5


ในวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 10.00 น. ณ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง กรุงเทพฯ

.....................................



กิจกรรมแข่งขันทักษะฝีมือนานาชาติ ประกอบด้วย

1. วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ

2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย

4. วิทยาลัยเกษตรเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

5. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ



ประเด็นการประชุม

จัดการแข่งขันทักษะฝีมือนานาชาติ โดยคำนึงถึงความเป็นสากล ที่แต่ละประเทศสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างทัดเทียมกัน

1. กำหนดรายวิชาที่เป็นสากล

2. กำหนดเกณฑ์ กติกา การตัดสินที่เป็นมาตรฐานสากล ต่างชาติยอมรับ

3. กำหนดวิธีการประสานงานกับนานาประเทศอย่างไรที่จะให้เยาวชนจากประเทศเหล่านั้นสามารถเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

4. กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้นานาชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้ จะมีวิธีการจัดกิจกรรมอย่างไร เพื่อจะให้กิจกรรมนี้มีลักษณะที่เป็นสากล

- จัดทำ / จัดหาข้อสอบ เกณฑ์ กติกา ที่เป็นสากล เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ

- ดำเนินการจัดการแข่งขัน / สาธิต การแข่งขันทักษะฝีมือตามเกณฑ์

5. จัดทีมงานที่สามารถสื่อสาร ติดต่อประสานงาน ทั้งการเขียน / พูด ภาษาอังกฤษได้ดี

6. เตรียมจัดประชุมคณะทำงาน โดยมีการเตรียมประเด็นการดำเนินการไว้ล่วงหน้า

- หัวหน้าทีมออกหนังสือเชิญประชุม

- จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนการใช้กำลังคน และแผนการใช้งบประมาณ

7. นัดประชุมฝ่ายดำเนินการภายหลังจากมีการทำคำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบการดำเนินการแข่งขันทักษะฝีมือแต่ละรายวิชา



นางอรัญญา กิมภิระ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง 0897592496 ผู้บันทึก