จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ส.บ.ม.

ความตั้งใจ...ทำให้งานออกมาดี
ความรัก...ทำให้งานออกมาสวย
ความรับผิดชอบ...ทำให้งานสำเร็จโดยไม่ต้องขอใครช่วย
ความสุข...ทำให้งานไม่ได้ถูกมองว่าเป็นงานอีกต่อไป
แค่มี "ความสุข" และ "คิดบวก" โลกก็เปลี่ยนแปลงได้แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เราจะสร้างความรับผิดชอบทางศึกษาได้อย่างไร



 โดย..สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
       
       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
       
       ในบทความ
แก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย: เราจะเริ่มที่ไหนดี?” ดร.อัมมาร สยามวาลา ได้เสนอให้การปฏิรูปคุณภาพการศึกษาของไทยเริ่มต้นจากการสร้าง ความรับผิดชอบ” (accountability) ในการจัดการศึกษา บทความนี้จะอธิบายถึงแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา และยกตัวอย่างการใช้แนวคิดดังกล่าวในต่างประเทศ
      
       “
ความรับผิดชอบหมายถึง พันธผูกพันในหน้าที่ของคน หรือองค์กรต่อเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย โดยมีระบบที่ผู้มอบหมายสามารถตรวจสอบและประเมินผลงาน เพื่อให้รางวัลหรือลงโทษผู้ที่ได้รับมอบหมายงานได้
      
       ในกรณีของการศึกษา โรงเรียนมีพันธผูกพันตามหน้าที่ในการให้ความรู้แก่นักเรียนตามที่ผู้ปกครองมอบหมาย โรงเรียนจึงควรมีความรับผิดชอบต่อผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย รัฐมักมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดการศึกษาเองผ่านโรงเรียนรัฐบาล หรืออุดหนุนงบประมาณแก่โรงเรียนรัฐและเอกชน รัฐจึงเข้ามามีบทบาทรับผิดชอบต่อผู้ปกครองแทนโรงเรียน โดยในประเทศประชาธิปไตย การเลือกตั้งจะเป็นกลไกที่ผู้ปกครองในฐานะพลเมืองใช้ควบคุมนักการเมืองซึ่งคุมอำนาจรัฐ ในเวลาเดียวกัน โรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ก็ต้องรับผิดชอบต่อรัฐบาล และต้องกำกับดูแลครูของตนให้สอนนักเรียนอย่างมีคุณภาพ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิด สายความรับผิดชอบ” (accountability chain) จากผู้ปกครองไปยังรัฐบาล ต่อเนื่องไปจนถึงโรงเรียนและครู 

       ปัญหาก็คือ สายความรับผิดชอบ ผู้ปกครอง-รัฐบาล-โรงเรียน-ครูดังกล่าว มีความยาวมาก และเสี่ยงที่จะขาดที่ช่วงใดช่วงหนึ่งได้ง่าย อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะพบว่า เป็นการยากที่ประชาชนจะสามารถกำกับนักการเมืองได้อย่างใกล้ชิด นักการเมืองเองก็ไม่สามารถกำกับให้กระทรวงศึกษาธิการทำตามนโยบายของตนที่หาเสียงกับประชาชนได้ทุกเรื่อง ส่วนกระทรวงศึกษาธิการเองก็อาจไม่สามารถกำกับโรงเรียนให้มีคุณภาพ เช่นเดียวกับโรงเรียนก็มักไม่สามารถกำกับการสอนของครูแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน สายความรับผิดชอบที่มีโอกาสขาดในหลายช่วงนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อคะแนนสอบของเด็กไทยแย่ลงเรื่อยๆ อย่างที่ปรากฏเป็นข่าว ก็ไม่เห็นมีใครต้องทำอะไร เพราะระบบการศึกษาไทย เป็นระบบที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบต่อใครแต่อย่างใด
       

       
แนวทางหนึ่งในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ก็คือ การกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบจ.หรืออบต.เพื่อให้ประชาชนสามารถควบคุมนักการเมืองให้มีความรับผิดชอบได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่นักการเมืองไม่สามารถกำกับดูแลโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีปัญหาในการกำกับดูแลครู ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม 
      
       
อีกทางหนึ่งในการยกระดับคุณภาพการศึกษาก็คือ การทำให้โรงเรียนและครูต้องรับผิดชอบต่อผู้ปกครองโดยตรง ซึ่งน่าจะมีประสิทธิผลมากกว่าเพราะวิธีนี้มีสายความรับผิดชอบเพียง ผู้ปกครอง-โรงเรียน-ครูซึ่งสั้นกว่าเดิม ทำให้มีโอกาสสายขาดน้อยกว่า ครูและโรงเรียนจึงต้องรับผิดชอบต่อผู้ปกครองมากขึ้น
      
       ในทางปฏิบัติ การทำให้โรงเรียนและครูต้องรับผิดชอบต่อผู้ปกครองโดยตรงมากขึ้นสามารถทำได้โดยใช้ 3 แนวทางต่อไปนี้ควบคู่กัน
      
       
1.การปฏิรูปด้านข้อมูล โดยการเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพของโรงเรียนให้ผู้ปกครองและสังคมรับรู้ เพื่อให้ผู้ปกครองและสังคมเข้าตรวจสอบโรงเรียนได้ง่ายขึ้น หรือใช้ในการเลือกโรงเรียนที่จะส่งลูกไปเรียน
      
       ตัวอย่างการดำเนินการในแนวทางนี้ได้แก่ รัฐปารานาของบราซิล แจกใบรายงานผล (Report Card) ของโรงเรียนให้แก่ผู้ปกครอง ใบรายงานผลนี้จะแสดงผลคะแนนเฉลี่ยในการสอบมาตรฐานของนักเรียนในโรงเรียน อัตราการสอบผ่าน อัตราการซ้ำชั้นและอัตราการออกกลางคันของโรงเรียนแต่ละแห่งเทียบกับโรงเรียนในเขตพื้นที่และในรัฐเดียวกัน ซึ่งมีผลทำให้ผู้ปกครองและชุมชนตื่นตัว ถกเถียงเรื่องการพัฒนาคุณภาพการสอนของโรงเรียน
      
       
2.การปฏิรูปการบริหารจัดการโรงเรียน โดยให้โรงเรียนมีอิสระในการบริหารการศึกษาจากรัฐมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มบทบาทของผู้ปกครองในการเข้าเป็นกรรมการโรงเรียน เพื่อให้สามารถกำกับและตรวจสอบโรงเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น หรือการที่รัฐกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพที่โรงเรียนจะต้องบรรลุอย่างชัดเจน และวางมาตรการแก้ไขที่เหมาะสม หากโรงเรียนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้
      
       ตัวอย่างเช่น ในปี 2001 สหรัฐฯได้ออกกฎหมาย No Child Left Behind Act (NCLB) ซึ่งกำหนดให้โรงเรียนต่างๆ ต้องส่งนักเรียนเข้าสอบมาตรฐานของมลรัฐ โดยหากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะมีการดำเนินมาตรการตามขั้นตอนดังนี้
      
       ­ -ไม่บรรลุเป้าหมาย 2 ปีติดต่อกัน: โรงเรียนต้องทำแผนปรับปรุงคุณภาพ และยอมให้นักเรียนย้ายโรงเรียน
       ­ -ไม่บรรลุเป้าหมาย 3 ปีติดต่อกัน: โรงเรียนต้องจัดสอนพิเศษฟรีให้แก่นักเรียน
       ­ -ไม่บรรลุเป้าหมาย 4 ปีติดต่อกัน: โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนบุคลากร หลักสูตร วิธีการสอน และเพิ่มเวลาสอน
       ­ -ไม่บรรลุเป้าหมาย 5 ปีติดต่อกัน: โรงเรียนต้องทำแผนปรับโครงสร้างการบริหาร เช่น จ้างให้มืออาชีพเข้ามาบริหารแทน (หรือกลายเป็น charter school นั่นเอง)
       -ไม่บรรลุเป้าหมาย 6 ปีติดต่อกัน: โรงเรียนต้องดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างหรือถูกปิด
      
       
3.การปฏิรูปแรงจูงใจครู โดยเชื่อมโยงผลการเรียนของนักเรียนเข้ากับการประเมินผลงานของครู แทนการใช้กฎเกณฑ์ในการประเมินผลแบบเดิมตามระเบียบราชการ ซึ่งทำให้ครูกลับมาให้ความสนใจนักเรียนมากขึ้น

      
       ตัวอย่างเช่น รัฐอันตระประเทศของอินเดีย มีนโยบายให้โบนัสครูตามผลงานซึ่งประเมินด้วยคะแนนสอบที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนทั้งชั้น โดยโบนัสจะขึ้นกับคะแนนที่เพิ่มขึ้น หลังจากการใช้นโยบายดังกล่าว พบว่า ครูจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบเพิ่มขึ้นทั้งในชั้นเรียนและการบ้าน จัดสอนพิเศษ และดูแลเอาใจใส่นักเรียนอ่อนมากขึ้น
      
       จะเห็นว่า หัวใจของการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาทั้ง 3 ด้านคือ การมีการสอบมาตรฐานที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียน และเชื่อมโยงผลดังกล่าวเข้ากับการประเมินโรงเรียนและครู ทั้งนี้ รางวัลที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูจะได้รับอาจไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป แต่อาจอยู่ในรูปอื่น เช่น การประกาศยกย่อง ก็ได้

กอศ.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันอาชีวะเกษตรฯ 4 ภูมิภาค ดึง วท.เกษตรและเทคโนโลยี 5 แห่งรวมด้วย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์8 กุมภาพันธ์ 2555 18:34 น.

       บอร์ด กอศ.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันอาชีวะเกษตรฯ 4 ภูมิภาค พร้อมดึง วท.เกษตรและเทคโนโลยี 5 แห่ง ที่ไปรวมกับ 19 สถาบันสมัย “วรวัจน์” ออกมารวมด้วย
      
       ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการสำนักงานการอาชีวศึกษา (บอร์ด กอศ.) เปิดเผยถึงการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ว่า เรื่องนี้ได้ข้อสรุปนานแล้วว่าจะมีการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเกษตร 4 ภูมิภาคแน่นอน โดยหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาแบบกลุ่มจังหวัด 19 สถาบันเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการต่อตามขั้นตอนการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรทันที โดยเริ่มจากการประเมินความพร้อมของสถานศึกษาที่จะรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรในแต่ละภูมิภาคตามหลักเกณฑ์การประเมินความพร้อมที่กำหนดโดยบอร์ด กอศ.ตามมาตรา 11(2) พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551
      
       “การแยกจัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรออกมาต่างหากภูมิภาคละ 1 สถาบัน เป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการนำทรัพยากรด้านการเกษตรมารวมกัน ส่วนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 5 แห่งที่ไปรวมกับสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบันก่อนหน้านี้ตามนโยบาย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็จะให้ออกมารวมกับสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 สถาบันที่จะจัดตั้งด้วย ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนคาดว่าการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรน่าจะเรียบร้อยได้ภายในกลางปี 2555 นี้ อย่างไรก็ตาม ระยะแรกหากวิทยาลัยเกษตรฯต้องการเปิดสอนระดับปริญญาตรีสามารถทำได้โดยเป็นเครือข่ายของสถาบันการอาชีวศึกษากลุ่มจังหวัดไปก่อนได้” ประธานบอร์ด กอศ.กล่าว
      
       ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า โดยหลักการจะต้องมีการแยกจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 ภูมิภาค โดยต้องเริ่มตั้งแต่การประเมินความพร้อมตามหลักเกณฑ์ก่อน ซึ่ง ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ก็ไม่ขัดข้องหลังจากได้มีการอธิบายเหตุผลและความจำเป็นให้ทราบแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ รมว.ศึกษาธิการ มีจุดยืนและจะเห็นด้วยกับเรื่องที่ดีๆ และเป็นประโยชน์กับเด็ก

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร จำเป็นอย่างไร
ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีผู้กล่าวถึงโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย หลายท่านจะนึกถึง "ความเป็นสุภาพบุรุษของลูกวชิราวุธวิทยาลัย" เมื่อกล่าวถึงโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จะนึกถึง "ความเป็นกุลสัตรีของลูกวัฒนาวิทยาลัย" ฯลฯ ในระยะหลัง จากการที่ทุกโรงเรียนมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือ จากการบริหารหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก ประกอบกับเมื่อมีระบบประกันคุณภาพภายนอก โรงเรียนส่วนใหญ่ได้หันมาพัฒนาสถานศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินภายนอก(ที่รับผิดชอบโดย สมศ.) โดยจากการสำรวจในเชิงปริมาณ เมื่อมีการสอบถามสถานศึกษากลุ่มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพในรอบที่ 2 (2549-2553)ในระดับดี-ดีมาก ว่า "สถานศึกษาได้ทำการกำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของตนเอง โดยได้เพิ่มมาตรฐานพิเศษ นอกเหนือจากมาตรฐานการประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ. หรือไม่" จากคำตอบที่ได้ พบว่า มีสถานศึกษาเพียงประมาณร้อยละ 40 เท่านั้น ที่มีการกำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน โดยเพิ่มมาตรฐานพิเศษ นอกเหนือไปจากมาตรฐานที่กำหนดโดย สมศ.อำนาจ จันทรขำ ,2553 ; การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ซึ่งในอนาคต หากโรงเรียนส่วนใหญ่ หันมาพัฒนาสถานศึกษาตามกรอบการประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ.เพียงอย่างเดียว เช่นนี้ ก็อาจเกิดปัญหาที่ตามมา คือ คุณภาพหรือคุณสมบัติของเด็กไทยก็จะเหมือนกันทั่วประเทศ โดยมีคุณภาพขั้นต่ำตามที่ประเทศ(โดย สมศ.)เป็นผู้กำหนด คุณลักษณะเฉพาะ หรือความโดดเด่นเป็นพิเศษของบางโรงเรียนที่เคยโดดเด่นในอดีต ก็อาจจะสูญหายไป อย่างน่าเสียดาย
ด้วยความกังวลใจของนักการศึกษาที่เห็นว่า ในอนาคต "หากโรงเรียนไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทาง หรือ ลักษณะโดดเด่นเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้น ๆ ความโดดเด่นใด ๆ ของนักเรียนก็จะสูญหายไป" ในการนี้ ในระยะหลัง จึงมีการกล่าวถึง "อัตลักษณ์ของสถานศึกษา" หรือ "เอกลักษณณ์ของสถานศึกษา" กันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยมีความเห็นร่วมกันว่า "นอกจากมาตรฐานขั้นต่ำของเด็กไทย ที่เป็นมาตรฐานแกนกลางเหมือนกันทั่วประเทศ" แล้ว สถานศึกษาแต่ละแห่งหรือแต่ละกลุ่ม ควรมีการพัฒนาคุณสมบัติของนักเรียนที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง เป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆ หรือกลุ่มโรงเรียนกลุ่มนั้น ๆ

"อัตลักษณ์ของสถานศึกษา" ควรเน้นไปที่การกำหนดภาพความสำเร็จ(Image of Success)ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน หรือเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติโดดเด่นของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาแห่งนั้น ตัวอย่างเช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กำหนดว่าอัตลักษณ์ของลูกสวนกุหลาบ คือ "มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ" โรงเรียนสตรีวิทยา กำหนดคุณสมบัติ "ยอดนารี สตรีวิทยา"(โดยมีการอธิบายอย่างชัดเจนว่า มีคุลักษณะที่สำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง) เป็นต้น

ในการทำหน้าที่วิทยากรเสริมความรู้ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในระยะที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2553 ผมได้พยายามเน้นและเสนอแนะให้สถานศึกษา กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะหรือลักษณะโดดเด่นของลูกศิษย์ของตน ให้ชัดเจน เช่น เสนอว่า
-โรงเรียนในเครือไทยรัฐวิทยา อาจเน้นคุณสมบัติ "ประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และกล้าต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง"(วิเคราะห์จากคุณสมบัติของผู้สื่อข่าว)
-โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี เน้น "จิตสำนึกรักเมืองนนท์ รักษ์สิ่งแวดล้อม"(เพื่อให้นนทบุรีเป็นเมืองน่าอยู่ชั้นดี)
-โรงเรียนในเครือ "เบญจมะฯ" เช่น เบญจมราชูทิศ เบญจมราชาลัย เบญจมราชานุสรณ์ เบญจมเทพอุทิศ ฯลฯ อาจเน้น "ประชาธิไตย เคารในสิทธิความเป็นมนุษย์"(ร.5 ทรงให้ความสำคัญกับศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงทรงประกาศให้มีการเลิกทาส)
-โรงเรียนในเครือ "จุฬาภาณ์" เน้น "บุคลิกนักวิทยาศาสตร์"

โดยสรุป อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา หรือกลุ่มสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา โดยควรเน้นที่ การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน(อาจเป็นคุณลักษณะ หรือสมรรถนะ) ในการกำหนดอัตลักษณ์ สถานศึกษาควรทำการวิเคราะห์ความเป็นมาของสถานศึกษา เจตนารมณ์ในการจัดตั้ง หรือบริบทของสถานศึกษา แล้วกำหนดอัตลักษณ์หรือคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ควรมีการประชาพิจารณ์ให้เห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องมีกิจกรรมการส่งเสริมหรือพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และ มีการประเมินหรือตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ว่า ผู้เรียนหรือผู้สำเร็จการศึกษา ได้มีคุณสมบัติหรือผ่านเกณฑ์แล้ว หรือไม่
อัตลักษณ์ เอกลักษณ์กับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม




สมศ. ได้ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)ซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้าใจความหมายและการเก็บรวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามดังนั้น จึงขอให้ความเข้าใจเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

อัตลักษณ์   (
Identity)  
หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับ ผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประเมินในสองรอบที่ผ่านมาที่ได้มีการตรวจสอบปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ว่ามีการกำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทุกสถานศึกษาจะต้องกำหนดไว้ตั้งแต่เมื่อก่อตั้งสถานศึกษา ส่วนการประเมินภายนอกรอบสามจะประเมินผลว่าตัวผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะเป็นไปตามสาระที่กำหนดไว้ในปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือไม่ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสถานศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" นักเรียนหรือบัณฑิตที่จบมาต้องมีความรู้ เป็นคนดีมีจิตสาธารณะ หรือสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "อดทน มุ่งมั่น สู้งาน" แล้วผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีลักษณะอดทนตั้งใจ มุ่งมั่น และสู้งาน ก็ถือว่าบรรลุอัตลักษณ์โดยจะนำผลมาพิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละระดับการศึกษาต่อไป ในการเก็บข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์นั้น
สถานศึกษาจะต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อใช้ประเมินผลความเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษาโดยอาจจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมภายในสถานศึกษา หรือทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากบุคลากรภายใน ต่อคุณลักษณะของผู้เรียนที่สะท้อนปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดหรือไม่ และให้ระดับคะแนนตามระดับผลกระทบที่ดีต่อชุมชนท้องถิ่น และระดับการยอมรับจากชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก ผลที่ได้จากการดำเนินการจะส่งผลดีให้สถานศึกษาได้ทบทวน พิจารณาและดำเนินการต่อไปอย่างมีเป้าหมายชัดเจน สำหรับระดับอุดมศึกษาสถาบันและคณะจะต้องกำหนดอัตลักษณ์เป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า"หนึ่งสถานศึกษา หนึ่งอัตลักษณ์"

ส่วน 
เอกลักษณ์ (
Uniqueness)



หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษาหรือความสำเร็จของสถาบัน ดังนั้น อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ จึงไม่เหมือนกัน แต่สำหรับระดับอุดมศึกษาเอกลักษณ์ กับอัตลักษณ์ของสถาบันกับคณะ จะเหมือนกันหรือต่างกัน หรือส่งผลถึงกันก็ได้ ยกตัวอย่าง เอกลักษณ์ของคณะต่างๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น วิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันแต่เอกลักษณ์ในภาพรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องเหมือนกัน

กล่าวได้ว่า ทั้งอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ถือเป็นตัวช่วยในการประเมินรอบสามนี้ และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้ชูจุดเด่นหรือจุดต่างของสถานศึกษาให้คนทั่วไปได้รับทราบและรู้จักตัวตนของสถานศึกษามากขึ้น


ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง

www.facebook.com/pageonesqa

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

ชั้น 24 อาคารพญาไทพลาซ่า เลขที่ 128 ถนนพญาไท 

แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2216-3955โทรสาร 0-2216-5044-6 

http://www.onesqa.or.th 

ที่มา:

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

คนดีไม่ตีใคร

โดย Danai Chanchaochai เมื่อ 18 มกราคม 2012 เวลา 5:43 น.
หลวงปู่ดู่สอนศิษย์ เรื่อง สัมมาวาจา
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญญา วัดสะแก อยุธยา
หลวงปู่ท่านมักกล่าวถึงมงคลที่สำคัญ
ที่ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้นำไปปฏิบัติ
คือ มงคล 38 ประการ มงคลที่ท่านพูดถึงบ่อย ๆ
นั่นคือ สัมมาวาจาชอบ คือ พูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล

ท่านว่าคนส่วนมากมักสร้างกรรมทางวาจา เพราะกรรมนี้สร้างได้ง่าย
แต่เขาไม่รู้หรอกว่าผลของกรรม เมื่อส่งผลจะร้ายแรงเพียงไร
คำพูดนั้นสำคัญมาก บางคนพูดไม่ดีกับผู้อื่น
จนเป็นเหตุถึงโกรธเกลียดกันชั่วชีวิตก็มี



บางรายคำพูดเพียงไม่กี่คำ ก็ทำให้ไม่พูดกันไปหลายปี
คนส่วนมากที่ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือทะเลาะกันจนไปถึงฆ่ากันตาย
ก็เพราะคำพูดที่ไม่ดีนี่แหละ

หลวงปู่ท่านสอนอยู่เสมอว่า

อย่าไปพูดไม่ดีกับใครเขา
ถ้ามีคนมาว่าหรือด่าเรา แต่เราไม่ว่า หรือ ด่าเขาตอบ มันก็จะไม่มีเรื่องกัน
แต่ถ้าแกไปด่าเขาเมื่อไรนั่นแหละ เรื่องใหญ่ ท่านสอนศิษย์เสมอว่า
อย่าไปพูดทำลายความหวังของใครเขา  
เพราะนั้นอาจจะเป็นความหวังเดียวที่เขามีอยู่  


ถ้าแกไปพูดเข้าเมื่อไหร่กรรมใหญ่จะตกแก่ตนเอง
ท่านบอกไว้อีกว่า คนที่ชอบด่า หรือ ใส่ร้ายผู้อื่น
รวมไปถึงการพูดไม่ดีต่าง ๆ กับคนอื่นนั้น
กรรมจะมาเร็วมาก

เขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีศัตรูทั้งภายนอกและภายใน
ไม่เป็นที่รักของคนทั่วไป ตรงกันข้ามกับเป็นคนที่น่ารังเกียจ แก่คนทั้งหลาย

กรรมนี้จะทำให้เขามีเรื่องและเดือดร้อนอยู่เสมอ ๆ
ทั้งทางกายและทางใจ บางคนทำกรรมนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ตัว
พอกรรมดีที่ตนเคยสร้างมาแต่ปางก่อนหมด หรือ เหลือน้อยลง


กรรมชั่วที่สร้างนี้ก็จะสนองเขาอย่างหนักทั้งในภพนี้และภพหน้า

ในภพนี้ เวลาที่กรรมดีแต่ปางก่อนจะส่งผลให้มีความสุข หรือ มีโชคลาภ
กรรมชั่วก็จะเข้ามาตัดรอนกรรมดี เหมือนอย่างเขาผู้นั้น
ซื้อหวยเลข 56 หวยก็จะออกเลข 55 หรือ 57 บางที
ก็ติดต่อการค้าหรืองานต่าง ๆ มองเห็นอยู่ว่างานนี้ได้แน่นอน
แต่พอถึงเวลาก็ไปไม่ทันบ้าง ไปแล้วไม่เจอหรือมีเหตุต่าง ๆ
มาทำให้มีอุปสรรคอยู่เสมอ ๆ

ซึ่งที่จริงแล้วผู้นั้นจะมีโชคที่ควรได้ประมาณเป็นล้าน ๆ

เขาก็จะได้แค่หมื่นสองหมื่น หรือ โชคครั้งนี้จะได้หลายหมื่น
แต่เขากับได้เพียงไม่กี่พันบาทหรือเพียงได้ไม่กี่ร้อยเท่านั้นเอง
นี้เป็นเพราะกรรมชั่วเข้ามาตัดรอนกรรมดี

และรวมถึงญาติพี่น้องลูกหลาน เขาเหล่านั้นก็จะทำความ
เดือดร้อนเสียหายมาให้ มีพี่น้องหรือญาติไปจนถึงเพื่อนฝูง
ก็จะโกงทรัพย์สินเงินทองของเราบ้าง

บางครั้งก็พูดใส่ร้ายให้โทษ ด่าว่าทะเลาะวิวาท
ทำให้เราไม่สบายกายและสบายใจเป็นอย่างมาก
มีเรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาอย่างไม่จบสิ้น
มีลูกหลานก็จะดื้อด้าน ว่านอนสอนยาก ทำความเดือดร้อน
ให้เสียเงินทองอยู่มิได้ขาด ว่ากล่าวลูกหลานไม่เชื่อฟัง
ไม่เคารพนับถือ ลูกหลานบางคนก็จะอกตัญญูตนเอง

มักจะเดือดร้อนด้วยการเป็นโรคร้ายที่รักษายาก หรือ รักษาไม่หาย
เช่น อัมพฤต อัมพาต มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคร้ายต่าง ๆ
อีกมากมายหลายชนิด

หลวงปู่ท่านบอกไว้ว่า กรรมทางวาจามีร้ายแรงมาก
การที่เราพูดใส่ร้ายหรือพูดไม่ดี จนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเสียใจ
หรือไปพูดทำลายความหวังต่าง ๆ ของเขาถ้ารู้ตัวให้หยุดเสีย

ถ้าไม่หยุดหรือเลิกทำเสียกรรมไม่สนองแต่ในชาตินี้
พอตายลงไปยังต้องไปใช้กรรมยังนรกตามขุมต่าง ๆ อีก
ท่านจะพูดและสอนศิษย์อยู่เสมอว่า "คนดีเขาไม่ตีใคร"
ความหมายว่า คนดีไม่ตีใคร ไม่ใช่เอาไม้หรือของแข็ง ๆ ไปตีเขา
แต่ท่านไม่ให้พูดจาไม่ดี

ด่าว่าใส่ร้ายทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย และ "ทุกข์ใจ"

หลวงปู่บอกว่าคนดีเขาไม่ว่าใคร....ถ้าแกไปว่าเขา....แกก็จะเป็นคนไม่ดี