จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความพิการ 5 ประการ ขององค์กร

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2556

องค์กรเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน มีการรับรู้และการตอบสนองที่แตกต่างหลากหลาย ความท้าทายคือการขับเคลื่อนองค์กรไปอย่างสมัครสมานสามัคคีและมีเป้าหมายร่วมกัน โดยสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจำต้องอาศัยการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมใจ มิเช่นนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการออกแบบหรือตัดสินใจจากคนเพียงไม่กี่คนที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือเป็นผู้มีอำนาจบริหารก็จะต้องประสบกับการต่อต้านหรือไม่ก็แรงเฉื่อย

สิ่งที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือมีสุขภาพที่ดี สำหรับองค์กรแล้วสุขภาพขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของส่วนย่อยต่างๆ ในองค์กรเอง หากสุขภาพไม่ดีองค์กรก็จะแสดงความพิการให้เห็นได้ชัด ในประสบการณ์ของผมเอง ความสัมพันธ์ที่มักเป็นปัญหาที่สำคัญคือ ๑) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน (Top Management) ซึ่งถือว่าสำคัญมาก เพราะช่องว่างที่เกิดขึ้นในระดับสูงแม้เพียงเล็กน้อย จะสร้างช่องว่างขนาดมหึมาในความสัมพันธ์ระหว่างระดับล่างด้วยกันเองได้มาก ๒) ความสัมพันธ์แนวดิ่ง (Departmental) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องในหน่วยงานเดียวกัน ๓) ความสัมพันธ์แนวราบแบบข้ามสายงาน (Cross-functional) ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

ในหนังสือ Five Dysfunctions of a Teamwork และ The Advantage ของ แพทริค เลนซิโอนิ (Patrick Lencioni) ได้ระบุองค์ประกอบขององค์กรที่มีความพิการในการทำงานเป็นทีม ดังนี้

หนึ่ง ขาดความไว้วางใจต่อกัน (Absence of Trust) ซึ่งคำว่า ไว้วางใจในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความไว้วางใจที่มีให้กับอีกฝ่ายในการทำงาน แต่เป็นความไว้วางใจที่จะเปิดใจต่อกันเมื่อเกิดปัญหา และสามารถพูดถึงปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาของตัวเองที่เผชิญอยู่อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ซึ่งหมายถึงการยอมรับความเปราะบางและการลดอาการปกป้องตัวเองหรือการรักษาภาพลักษณ์ให้ดูดีลง

สอง กลัวความขัดแย้ง (Fear of Conflicts) ยิ่งเป็นองค์กรที่มีความเป็นไทย มีความเป็นพี่เป็นน้อง แล้ว ก็จะยิ่งพยายามรักษาความสามัคคี สันติภาพ และความปรองดองไว้ในชั้นนอก (Artificial Harmony) โดยไม่กล้าเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผยเพื่อถกเถียงในปัญหาของงานที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์ หลายองค์กรเต็มไปด้วยความขัดแย้งที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะเต็มไปด้วยการตัดสิน การพูดจากันลับหลัง และกล่าวโทษตำหนิต่อหน้าสาธารณะอย่างเปิดเผย ทำให้ผู้คนหากเลือกได้คงจะอยากไปกินข้าวร้องเพลงหรือเล่นกีฬาด้วยกัน มากกว่าจะเข้าห้องประชุมกัน

สาม ขาดคำมั่นสัญญา (Lack of Commitment) ที่จะลงมือกระทำการร่วมกัน ด้วยเหตุที่โดยส่วน ใหญ่ในการแสดงความคิดเห็น ข้อสรุปอาจไม่ได้เกิดจากการเห็นตรงกัน การมีข้อตกลงและคำมั่นสัญญาร่วมกันแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกันและไม่ตรงกับข้อสรุปที่ได้ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม

สี่ หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบร่วมกัน (Avoidance of Accountability) ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หลังจากที่มีข้อตกลงร่วมกันแล้ว ในการลงมือปฏิบัติ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้ตามเป้าหมายหรือคุณภาพที่ทีมงานตั้งไว้ ก็จำเป็นต้องบอกกล่าว สื่อสารกันและกัน เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ชอบที่จะทำนัก โดยเฉพาะการบอกกล่าวตักเตือนคนระดับเดียวกัน เพราะไม่ต้องการก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกัน

ห้า ขาดการเอาจริงเอาจังต่อผลลัพธ์ที่ต้องการ (Inattention to Results) เพราะการอยากได้ผลงาน อยากได้หน้า หรือการเติบโตก้าวหน้าส่วนตัว หรือแม้แต่การรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานตัวเองมากกว่าการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการในทีมงานและองค์กร เมื่อพิการเรื่องหนึ่ง ก็ส่งผลให้เกิดความพิการอีกเรื่องหนึ่งสืบเนื่องกันไป โดยจะส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย ความท้อและขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน เพราะองค์กรที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ระยะยาว และมีความสุขในการทำงานนั้น สิ่งที่สำคัญไม่ใช่แค่การมีทักษะและความรู้ในเรื่องที่ทำ แต่จำต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นทีม การอยู่ร่วมกันอย่างมีความหมาย และนี่ถือเป็นหนทางของการพัฒนาขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้มีจิตใจกว้างใหญ่ เปิดรับการเรียนรู้จากกันและกันอย่างไปพ้นความรู้อันจำกัดและคับแคบของตัวเอง

มีคนกล่าวว่า หากทีมงานดี จะทำอะไรก็ได้ แต่หากทีมงานพิการแล้ว คิดจะทำอะไรก็ไม่ได้ ติดขัดไป เสียหมด เราอาจสามารถสร้างหรือนำเข้าความรู้ทางเทคนิคและอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ได้ แต่สิ่งเดียวที่เรานำเข้าหรือซื้อไม่ได้ คือความเป็นทีมเวิร์ก ซึ่งจำต้องสร้างเองและอาศัยความเอาจริงเอาจัง ความอึดและความถี่ของการสื่อสารภายในที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงการไปจัดสัมมนาหรือกิจกรรมสันทนาการนอกสถานที่เพียงชั่วข้ามคืน สิ่งที่ต้องลงทุนที่สุดไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นการลดละอัตตาของของผู้นำในระดับต่างๆ รวมทั้งการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้ในเชิงพฤติกรรมที่สามารถสร้างความเชื่อและความศรัทธา และวิถีของการอยู่ร่วมที่สอดคล้องกับระบบคุณค่า (Value) จนกลายเป็นวัฒนธรรมได้จริง เหมือนกับคำกล่าวที่ “ทำได้ดังกว่าพูดได้”

การแก้ไขปัญหาขององค์กรในการฟื้นฟูความไว้วางใจต่อกันนั้นทำได้ไม่ยาก และไม่ได้ซับซ้อนอะไร แต่สำคัญอยู่ที่ความตั้งใจและการเอาจริงเอาจังกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า บ่อยครั้งที่ผู้บริหารรู้ว่า องค์กรควรจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหน แต่สิ่งที่มักไม่รู้คือ “ทำไมผู้คนไม่อยากเปลี่ยนแปลง” ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ความบาดเจ็บที่มักเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงก็มักจะถูกละเลย ไม่ได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง ทำให้เกิดอาการกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกที่ค้างคาจิตใจผู้คนอย่างยาวนาน

การรักษาอาการพิกลพิการขององค์กรให้กลับมามีความสามารถได้อีกครั้ง จึงต้องเริ่มต้นจากการเปิด ใจรับฟังปัญหาของกันและกันอย่างทั่วถึง ไม่ใช่ทั้งการอบรมเพื่อพูดทักษะความรู้ หรือการจัดกิจกรรม สร้างความสนุกสนานและอาศัยความสมัครสมานสามัคคีกลบเกลื่อนปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้อาจจะต้องอาศัยทักษะในการเผชิญความขัดแย้งด้วยความตื่นรู้ ทักษะในการสื่อสารที่แม่นยำและไม่รุนแรง ในการเชื่อมทุกฝ่ายเข้ามาเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันอย่างสันติด้วย ดังที่ อาร์โนล มินเดล นักจิตวิทยาเชิงกระบวนการ (Process-Oriented Psychology) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ความขัดแย้งเกิดขึ้นเพื่อ ให้เราได้รู้จักตัวเองและรู้จักกันและกันมากขึ้น”

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันต้นไม้แห่งชาติ


วันต้นไม้แห่งชาติ

(15 ค่ำเดือน 6 )
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันต้นไม้แห่งชาติ
15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี
15 ค่ำเดือน 6 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็น วันต้นไม้แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทย ตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต
ป่าไม้นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการในด้านบริโภคย่อมขยายตัวตามไปด้วย แต่เนื่องจากทรัพยากรบางประเภทมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน ป่าไม้ สินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ โดยเฉพาะ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย แต่การปลูกทดแทนต้องรอเวลาและใช้งบประมาณสูงในการดูแลรักษาทำนุบำรุง
ดังนั้นปลายปี พ.ศ.2528 รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อให้การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องเป็นแผนระยะยาว และประสานสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรชนิดอื่นๆ และเพื่อให้ส่วนราชการรวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้มีความเข้าใจร่วมกันและถือปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้กำหนดไห้ให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้ได้กำหนดไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและนันทนาการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 25 นั้น รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นป่าเศรษฐกิจเพื่อการผลิตไม้และของป่า
คุณประโยชน์ป่าไม้สำหรับมนุษย์และสัตว์โลกนั้น มัทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงได้แก่การนำมาเป็นอาหาร ยารักาาโรค ที่อยู่อาศัย ทำเส้นใยเครื่องนุ่งห่ม ทำสิ่งปลูกสร้างอาศัย ใช้เป็นวัตถุเคมี ฯลฯ
ในทางอ้อม ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ฝนตก และทำให้เกอดความชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาความร้ายแรงของพายุ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ฯลฯ
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ป่าไม้ได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วทั้งจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า อันเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดมาใช้อย่างขาดแผนการดูแลบำรุงรักษาและปลูกทดแทน
เพื่อให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ปี พ.ศ.2528 – 2531 เป็นปีต้นไม้แห่งชาติและกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันต้นไม้แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มต่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฎิบัติในวันต้นไม้แห่งชาติ
  1. จัดนิทรรศการ เอกสารเผยแพร่คุณประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้ รวมทั้งการอนุรักษ์
  2. ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันต้นไม้แห่งชาติ ซึ่งจัดโดยภาครัฐบาล หรือเอกชนต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ การป้องกันไฟป่า ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง
1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา 2556

ประวัติวันวิสาขบูชา


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...




1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา




3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
                                                           

 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

       
   ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          
หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ 
และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน




 การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

           1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
           2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
           3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

           1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
           2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
           3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
           4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
           5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
           6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
           7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
           8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

           ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

           สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

           นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

           มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ

3. ความไม่ประมาท

          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ
  


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- phutti.net
- dopa.go.th
- larnbuddhism.com
- onab.go.th 
- yimsiam.com

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

แนวทาง 10 ประการในการชนะความทุกข์

แนวทาง 10 ประการในการชนะความทุกข์ 
1. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธหรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าพึ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าพึ่งทำอะไรลงไปแต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่คนทุกคนในโลกนี้ ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระ และไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์ เพราะมันก็หมายความว่า ท่านชนะมัน

2. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็น สภาวะที่ใสสะอาด ในตัวมันเอง จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาที ท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้น อย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย

3. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือ สภาวะธรรมดา ที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้น เสียอกเสียใจกับมันทำไม มันจะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไป ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้วท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสีย แม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย

4. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่าทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา ? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา

5. คงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมันจงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นในมันและไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์

6. ขอเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้น ทันทีถ้าสบายใจอยู่ ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่าน พร้อมรับ เป็นอย่างนี้ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ

7. ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้น สักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตใจให้สงบ และเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ ภายในจิตของตัวเอง อย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า การเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบ และเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้

8. ความรู้จักในการรักษาจิตให้ สงบและสะอาด อยู่เสมอ นี่แหละ คือ สติปัญญาความรู้แจ้งธรรม ความเป็นจริง ความทุกข์จะ เกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย

9. จงเข้าสมาธิความสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย ไม่ต้องปรารถนาจะเห็น หรือจะได้ จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ และเมื่อ จิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่แล้ว สรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควร ยึดมั่นถือมั่นเลย

10. จงทำกับปัญหาทุกอย่าง ให้ดีที่สุด ใช้ ปัญญา แก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้ว จงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้ว จงออกมาสู้กับปัญหาอย่างนี้เรื่อยไป และจงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุดในสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก

ที่มา:mthai.com
 — กับ Inthasuwan Ott FC

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558

• ลดขั้นบัญชี "เงินเดือนครู" หวังได้ขั้นสูงสุดภายใน 15 ปีไม่ต้องรอเกษียณ
+โพสต์เมื่อวันที่ : 16 ม.ค. 2556
 
.....
จากการนำเสนอผลการเสวนากลุ่มย่อย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทย ตามนโยบายรัฐบาล เมื่อเร็วๆ นี้

นายดิเรก พรสีมา กรรมการพัฒนาระบบการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปครู โดยยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น ในส่วนของสถาบันการผลิต ต้องการให้ ศธ. กำหนดโควตาการผลิตให้สอดคล้องกับจำนวนที่หน่วยงานใช้ครูต้องการ โดยเน้นสอนครูจากการปฏิบัติการสอนในห้องเรียนจริง รวมทั้งควรปลูกฝังครูรุ่นใหม่เรียนรู้โครงการพระราชดำริด้วย ในส่วนของผู้ใช้หรือ สพฐ. และโรงเรียน ก็ควรใช้ครูให้ตรงกับสาขาที่จบ ควรมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของครูแต่ละวิชาเพื่อการสอนที่มีคุณภาพ ทั้งวิชาพลศึกษา ดนตรี การเรือน วิทยาศาสตร์ ด้านเงินเดือนครูนั้น ปัจจุบันบัญชีเงินเดือนครู มีขั้นเงินเดือนย่อยมากถึง 85 ขั้น ควรลดเหลือ25-30 ขั้น เพื่อให้ครูได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดภายใน 15-20 ปี ซึ่งปัจจุบันครูที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุด จะได้รับตอนอายุ 59 ปี หรือ 1 ปีก่อนเกษียณ
ด้านนายจุรินทร์ มิลินทสูตร ผอ.วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม นำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาว่า ระดับอุดมศึกษา ที่ประชุมเสนอว่าปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยมากเกินไป ควรมีการควบรวม และผลิตบุคลากรให้ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ ด้านอาชีวศึกษา ควรเน้นทวิภาคีให้มากขึ้น และทำความเข้าใจถึงงานสายอาชีพในอนาคตให้เด็กเข้าใจ เช่น ช่างเชื่อม มีบริษัทน้ำมันข้ามชาติต้องการอัตรา และนำไปฝึกเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมท่อส่งน้ำมันในทะเล เงินเดือนกว่า 1 แสนบาท แต่กลับไม่มีผู้เรียนสาขานี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้มีการตั้งองค์กรกลางขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมือง เช่น สถาบันการศึกษาแห่งชาติ เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ ก็เปลี่ยนนโยบายทำให้งานไม่ต่อเนื่อง

ที่มา สยามรัฐ

นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา


จุดเน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ภายใต้การบริหารงาน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาและการแข่งขันของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของคน มากกว่าจำนวนคนและทรัพยากรเช่นในอดีต ซึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ เกี่ยวข้องกับบุคลากรและผู้เรียนจำนวนหลายล้านคน ประกอบกับผลสรุปของการศึกษาไทยที่ผ่านมา คือ ใช้เวลาเรียนมาก เรียนรู้ได้น้อย มีความเครียด และคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาต่ำ ดังนั้น การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การบริหารงานของ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเน้นย้ำให้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนแนวทางวิธีการทำงานให้เหมาะสม และต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านอื่นด้วย รวมทั้งมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากขึ้น ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และขับเคลื่อนการทำงานอย่างจริงจัง 

ครูคือใคร.......

ครูคือใคร.......

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ 
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล 
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์ 
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน

ครูคือผู้ ชี้นำ ทางความคิด
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน
ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง

ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง
ขอมอบเพลง นี้มา บูชาครู

...เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์...

โพลวันครู 2556 ระบุ นักเรียนอยากให้ครูมีเวลา ตั้งใจสอน


โพลวันครู 2556 ระบุ นักเรียนอยากให้ครูมีเวลา ตั้งใจสอน

วันครู 2556
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองทั่วประเทศ จำนวน 2,259 คน (นร. 1,104 คน 48.87% ผู้ปกครอง 1,155 51.13% คน) ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
“ผู้ปกครอง” มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
- เมื่อถามถึง “จุดเด่น/ข้อดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
เป็นผู้ให้ความรู้ ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีกับเด็ก /ช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครอง 47.30%
มีทักษะความรู้มากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน 28.91%
การแต่งกาย บุคลิกภาพดี /เป็นแบบอย่างที่ดี 23.79%
- เมื่อถามถึง “จุดด้อย/ข้อไม่ดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
มีเวลาให้กับเด็กน้อย มีงานมาก /ทำให้สอนเด็กหรือดูแลเด็กได้ไม่เต็มที่ 54.24%
การควบคุมอารมณ์ เมื่อโมโหมักจะทำโทษเด็กโดยไม่ฟังเหตุผล 24.53%
ความรัก ความทุ่มเทในวิชาชีพของครูในปัจจุบันมีน้อยลง ไม่เหมือนครูสมัยก่อน 21.23%
- เมื่อถามว่า “ผู้ปกครอง” อยากได้ “ครู” แบบใด? มาสอนลูกหลานของท่าน
เก่ง มีความรู้ความสามารถ มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย 40.17%
มีเวลาให้กับเด็ก ให้ความรักดูแลเอาใจใส่และเข้าใจเด็ก /เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดี 31.02%
ใจดี มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 28.81%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “ผู้ปกครอง” อยากบอกกับ “ครู” ณ วันนี้ คือ
ครูคือบุคคลสำคัญ เป็นแม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้ที่เสียสละ อดทน 57.51%
อยากให้มีจิตวิญญาณในความเป็นครู เป็นครูที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 21.65%
อยากขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่เสียสละ ดูแลให้ความรักและอบรมสั่งสอนเด็กๆ 20.84%
“นักเรียน” มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” “ประทับใจ” “ครู” มากที่สุด คือ
ครูใจดี พูดเพราะ ให้ความรักความห่วงใย 69.36%
ครูจะคอยสอนคอยเตือน ดูแลอบรมให้เป็นคนดี ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ 20.47%
ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครู เช่น เข้าค่าย แข่งกีฬา กีฬาสี ทัศนศึกษา ฯลฯ 10.17%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” “อยากลืม” สิ่งที่ “ครู” เคยทำกับเรามากที่สุด คือ
ถูกทำโทษ โดยการดุด่า ว่ากล่าว ตี /ให้การบ้านหรือให้งานมาทำเยอะๆ 70.08%
ไม่ยอมฟังเหตุผล ใช้แต่อารมณ์ ใช้คำพูดรุนแรง ฟังความข้างเดียว 18.55%
ไม่ยุติธรรมในการให้คะแนน/ให้เกรดวิชาเรียน 11.37%
- เมื่อถามว่า “นักเรียน” “ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?
ใจดี รักและเข้าใจเด็ก พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเอง 65.41%
เก่ง มีวิธีการสอนหรือเทคนิคในการสอนที่สนุก เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ 21.83%
มีบุคลิกภาพดี แต่งกายดี มารยาทดี 12.76%
- เมื่อถามว่า “นักเรียน” “ไม่ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?
ดุ โมโหง่าย ใช้ไม้เรียวทำโทษ /มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพกับเด็ก 61.73%
ไม่มีเวลาให้กับเด็ก ขาดสอนบ่อย ไม่สนใจเด็ก ปล่อยปละละเลยเด็ก 19.94%
ไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็ก ไม่ยุติธรรม 18.33%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” อยากฝากบอก “ครู” ณ วันนี้ คือ
อยากให้ครูเป็นครูที่ดี ใจดี /มีเวลา มีความทุ่มเทตั้งใจสอนเด็กอย่างเต็มที่ 56.94%
หนู /ผมจะเป็นเด็กดี ไม่ทำให้ครูผิดหวัง /รักครู ขอบคุณครูที่ให้การอบรมสั่งสอน 22.17%
อยากให้ครูเข้าใจเด็ก เข้าใจยุคสมัย สังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับความคิดแบบเดิมๆ 20.89%
ที่มา : MThai

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความแปรผันของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ อาจเปรียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้

ความพอเพียงในระดับบุคคลและระดับครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม

ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ เป็นเรื่องของการสับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปแบบกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง

ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่ที่ประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง กลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียนแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
การปฏิบัติตน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ อย่างจริงจัง ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า
 “… ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ่มเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง…”

. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า
“… ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสำคัญ…”

. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ และแข่งขันกันในทางการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ดังกระแสพระราชดำรัสในเรื่องนี้ความว่า
 “… ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น…”

. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ ดังกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความหมายชัดเจนว่า
“… การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเองเพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้าที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไปก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง…”

. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายแผ่นดิน ดังกระแสพระราชดำรัส ความว่า
“… พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น…”